จิตตารมณ์แห่งการรับใช้ผู้ป่วยของนักบุญคามิลโล
นักบุญคามิลโล เด แลลลิส ได้รับการสถาปนาจากพระศาสนจักรให้เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ผู้ป่วย ผู้ที่ทำงานกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล และผู้อุปถัมภ์ผู้ป่วยทหาร เพราะกิจการแห่งคุณงามความดีที่ท่านได้ดำเนินชีวิตจิตเลียนแบบฉบับพระเยซูคริสต์เจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบฉบับการดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วย ผู้ทุกข์ทรมาน ผู้ถูกทอดทิ้งในสังคม เราสามารถสรุปจิตตารมณ์ แห่งการรับใช้ผู้ป่วย ของท่านนักบุญคามิลโลดังต่อไปนี้ (จิตตารมณ์ของนักบุญคามิลโล เด แล ลิส โดยคุณพ่อ มารีโอ วันตี )
ชีวิตทั้งชีวิตของนักบุญคามิลโล “เมตตาจิต” เหนื่ออื่นใดหมด จิตตารมณ์ของนักบุญคามิลโลเป็นจิตตารมณ์ของนักบุญคามิลโล เป็นจิตตารมณ์แห่งความรัก อย่างสูงสุดต่อมนุษย์ทุกคนทั่วไป คือ ผู้ขัดสน ผู้เคราะห์ร้ายผู้มีความทุกข์
และโดยเฉพาะเป็นพิเศษ คือ ผู้เจ็บป่วย คุณพ่อ นิกลี กล่าวว่า “ชีวิตทั้งชีวิตของท่านนักบุญคามิลโล ไม่ว่าจะเป็นกิจการหรือความคิด สรุปเป็นคำเดียวได้ว่า” เมตตาจิต เพราะทุกสิ่งในตัวท่านได้รับดลบันดาลและเกิดคุณธรรมประการนี้ เมตตาจิต เหล่านี้ ประสบผลสำเร็จอย่างใหญ่หลวง มิใช่ความสามารถ ของท่านนักบุญ แต่เป็นพรหรรษทาน ของพระเจ้าได้เข้มาเกื้อหนุน พลังตามธรรมชาติ ที่ท่านนนักบุญเป็น และทรงทำให้ ตามธรรมชาติ เหล่านี้ถูกยกขึ้นเป็นความรักอันสูงส่ง ตามที่นักบวชท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “พระเจ้าทรงเป็นอาจารย์เอก สอนนักบุญคามิลโลให้มีเมตตาจิต”
รักเยี่ยงมารดา อุดมคติประการแรกของท่าน คือ ตั้งกลุ่มฆราวาสพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยด้วยความรักเหมือนแม่ที่รักลูกของตน อุดมคตินี้ได้บรรจุ ไว้ในพระวินัยของคณะเมื่อแรกเริ่มและสมรณสาร ของพระสันตะปาปาได้รับรอง และเห็นชอบโดยยืนยันว่า “นักบุญคามิลโลกับเพื่อนร่วมคณะได้พยาบาลผู้ป่วยด้วยความรัก ไม่แพ้แม่ที่รักลูกคนเดียวของตนที่กำลังป่วย ” เราสังเกตุว่า ตั้งแต่แรกเริ่มอุดมคติอันสูงส่งนี้เกี่ยวโยงกับความเข้าใจในเรื่องความรักเหนือธรรมชาติ และเอาความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนเดียวที่กำลังเจ็บป่วย ที่ยอดเยี่ยมที่สุด มาเปรียบกับความรักเหนือธรรมชาติ เพื่อเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ให้มีความเคารพต่อองค์พระคริสเจ้าเอง ความคิด ความเข้าใจ ความรักเหนือธรรมชาติ ได้ถูกบรรจุไว้ในกฏข้อบังคับแรกๆ ของท่านนักบุญ คามิลโลแล้ว เช่น ท่านกล่าวว่า ทุกคนพึงระวังให้มากที่สุด อย่าใช้วิธีการที่ไม่ดีต่อผู้ป่วย คือ อย่าใช้คำพูดที่แข็งกระด่างและอะไรๆ และอะไรทำนองนี้ แต่พึงปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความอ่อนโยนและเมตตาจิต เพราะพระคริสต์เจ้าทรงตรัสว่า “ท่านทำอะไรเพียงเล็กน้อยต่อผู้ต่ำต้อย ท่านได้ทำต่อเราเอง เพราะเหตุนี้ ให้ทุกคนมีความเคารพต่อผู้ป่วย ผู้ยากไร้ เหมือนกระทำตนต่อพระคริสต์เจ้าเอง”
ผู้ป่วยเป็นเจ้านายและนายของเรา ผู้ป่วยท่านหนึ่งกล่าวแก่ท่านนักบุญว่า”คุณพ่อไปนอนเถิดครับ คุณพ่ออ่อนเพลีย อย่างนี้” นักบุญคามิลโล ตอบว่า “น้องชายเอ๋ย ฉันเป็นบ่าวของเธอ ฉันต้องอยู่ที่นี้เพื่อรับใช้เธอ” ขณะที่ท่านพยายามพยาบาลผู้เจ็บป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลซานโต สปีรีโต มีผู้มาบอกว่า ผู้จัดการอยากพูดกับท่าน ท่านนักบุญตอบว่า
“โปรดบอกท่านว่า ฉันกำลังติดธุระอยู่กับพระเยซูคริสต์เจ้า เมื่อเสร็จธุระแล้วเราจะไปพบท่าน ” ท่านกล่าว “ผู้ป่วยคนนี้เป็นเจ้านายของฉัน ฉันมีความยินดีและกระตือรือร้นที่จะรับใช้เขา” และเมื่อเสร็จแล้ว ท่านกล่าวว่า “ท่านทำจนเกือบจะเป็นการนมัสการกราบไหว้ผู้ป่วย…ถือว่าเป็นองค์พระคริสต์เจ้าเอง”
เพราะเห็นแก่พระเป็นเจ้า เมตตาจิตของท่านนักบุญ เป็นไปแก่แบบไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ท่านแสวงหาพระเยซูคริสตเจ้า ท่านรักและรับใช้ทุกคนด้วยมาตรฐานเดียวกัน เพราะท่านไม่ได้หวังอะไรจากพวกเขา แต่จากพระเยซูคริตเจ้า
เท่านั้น ท่านกล่าว “จงรับใช้ บรรเทาใจ และรักษาผู้ป่วย ทุกคนโดยไม่เลือกที่มักรักที่ชัง เพราะพระเจ้าทรงพอพระทัยเช่นนี้ ” ท่านปาวรณาตนเองว่า”ข้าพเจ้าขอสัญญาด้วยการปฎิญาณ แบบเรียบง่ายว่า เท่าที่กระทำได้ ข้าพเจ้าจะไม่หาช่องทางหรือยินยอมด้วยประการใดให้คณะของเราจัดหาผลประโยชน์และดำเนินทางธุรกิจโรงพยาบาล ทั้งนี้ จะได้อุทิศตนเองสิ้นเชิงในการปรนนิบัติผู้ป่วยทั้งกายและวิญญาณ โดยมีใจรักและบริสุทธิ์ใจยิ่งๆขึ้น”
สำนักสอนเมตตารักแห่งใหม่ ท่านให้ความสนใจที่จะดูแลรับใช้ผู้ป่วยทุกมิติอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อผู้ป่วยจะได้รับภาวะสุขภาพแบบสมดุล เพื่อบรรลุถึงคำว่าสุขภาพแบบองค์รวมนักบุญคามิลโลจึงสอนสมาชิกและเจ้าหน้าที่ให้ดูแลผู้ป่วยอย่างดี ในด้านร่างกายและภายนอก เช่น การจัดเตียง การอาบน้ำ การดูแลทำความสะอาด ในด้านจิตใจ โดยการให้กำลังใจผู้ป่วย ในด้านสังคมท่านไม่เคยปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพังคนเดียว และในด้านมิติจิตวิญญาณ ทำให้ผู้ป่วยมีความเชื่อและรักพระเจ้ามากยิ่งขึ้น การกระทำเช่นนี้ เป็นการปฏิรูปครั้งยิ่งใหญ่ในการดูแลพยาบาลผู้ป่วย จนพระศาสนจักได้ยกย่องนักบุญคามิลโลว่า ท่านได้ตั้งสำนักสอนเมตตารักแห่งใหม่ ด้วยคำพูด ท่าที และการกระทำที่เป็นแบบอย่างของท่านต่อผู้ป่วย
คนเข้าตรีทูต ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนเข้าตรีทูตหรือใกล้จะตายเป็นช่วงได้รับความสนใจเป็นพิเศษด้วยความรอบคอบต่อเนื่อง และระมัดระวังที่สุด ดังกฏของคณะ ที่เขียนไว้ว่า เมื่อผู้ป่วยใกล้ตาย ต้องพยายามเอาใจใส่อย่างดีที่สุด ให้มีพระสงฆ์หรือภารดาคนหนึ่งคอยช่วยเหลือ วิญาณของเขา เตือนให้มีความคิดศรัทธา ไม่ทิ้งเขาไปไหนเลย และจะต้องหยุดชะงักกิจการอื่นๆ ทั้งหมด หากว่าจำเป็นต้องออกไป ก็ต้องมีคนมาแทน หรือให้กลับมาทันที และต้องทำดังนี้ทั้งกลางคืนและกลางวัน หากผู้ใกล้ตายอยู่ได้นาน ให้ทุกคนมาอยู่ด้วยคนละชั่วโมงพร้อมด้วยไม้กางเขน น้ำเสก หนังสือ สำหรับมอบวิญณาณต่อพระเจ้า กับตะเกียงที่จุดดวงหนึ่ง การเฝ้าคนใกล้ตายเป็นหน้าที่โดยเฉพาะภารดาพยาบาลวิญณาณ พระวินัยบอกไว้อย่างละเอียดว่าเขาจะต้องทำอย่างไร จึงจะทำหน้าที่นี้อย่างดี ถ้าภารดาพยาบาลวิญณาณสังเกตุว่าอาการของผู้ป่วยหนักขึ้น ก็บอกให้เขาทำการประกาศยืนยันความเชื่อ และเชิญพระสงฆ์มาประกอบพิธีเจิมผู้ป่วย กับคิดที่จะให้เขาได้รับพระการุณบริบูรณ์โดยใช้รูปแขวน และภารดาพยาบาลวิญญาณจะเป็นคนแรกที่เฝ้าผู้ป่วย 1 ชั่วโมง นักบุญคามิลโลเรียกร้องให้ทุกคน มีความเคารพต่อศพของผู้เสียชีวิตใรโรงพยาบาล ต้องคอยหลายชั่วโมงจึงจะเอาศพไปจากเตียงได้ และในห้องนอนผู้ตาย ต้องวางศพในที่อันสมควรไม่ใช่ทิ้งอยู่กับพื้นอย่างขาดความเคารพอย่างที่เห็นบ่อยๆ เวลานำศพไปยังห้องผู้ตาย มีภารดาสามคนตามพระสงฆ์ไป อีกคนถือกางเขน อีกสองคนถือ เทียนจุด ความมีเมตตาจิตของท่านนักบุญยังตามผู้ป่วยไปถึงโลกหน้า โดยหลังจากสวดภาวนาที่กำหนดไว้ในพิธีกรรมแล้ว
camillo 007
จิตตารมณ์แห่งการรับใช้ผู้ป่วยของนักบุญคามิลโล
นักบุญคามิลโล เด แลลลิส ได้รับการสถาปนาจากพระศาสนจักรให้เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ผู้ป่วย ผู้ที่ทำงานกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล และผู้อุปถัมภ์ผู้ป่วยทหาร เพราะกิจการแห่งคุณงามความดีที่ท่านได้ดำเนินชีวิตจิตเลียนแบบฉบับพระเยซูคริสต์เจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบฉบับการดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วย ผู้ทุกข์ทรมาน ผู้ถูกทอดทิ้งในสังคม เราสามารถสรุปจิตตารมณ์ แห่งการรับใช้ผู้ป่วย ของท่านนักบุญคามิลโลดังต่อไปนี้ (จิตตารมณ์ของนักบุญคามิลโล เด แล ลิส โดยคุณพ่อ มารีโอ วันตี )
ชีวิตทั้งชีวิตของนักบุญคามิลโล “เมตตาจิต” เหนื่ออื่นใดหมด จิตตารมณ์ของนักบุญคามิลโลเป็นจิตตารมณ์ของนักบุญคามิลโล เป็นจิตตารมณ์แห่งความรัก อย่างสูงสุดต่อมนุษย์ทุกคนทั่วไป คือ ผู้ขัดสน ผู้เคราะห์ร้ายผู้มีความทุกข์ และโดยเฉพาะเป็นพิเศษ คือ ผู้เจ็บป่วย คุณพ่อ นิกลี กล่าวว่า “ชีวิตทั้งชีวิตของท่านนักบุญคามิลโล ไม่ว่าจะเป็นกิจการหรือความคิด สรุปเป็นคำเดียวได้ว่า” เมตตาจิต เพราะทุกสิ่งในตัวท่านได้รับดลบันดาลและเกิดคุณธรรมประการนี้ เมตตาจิต เหล่านี้ ประสบผลสำเร็จอย่างใหญ่หลวง มิใช่ความสามารถ ของท่านนักบุญ แต่เป็นพรหรรษทาน ของพระเจ้าได้เข้มาเกื้อหนุน พลังตามธรรมชาติ ที่ท่านนนักบุญเป็น และทรงทำให้ ตามธรรมชาติ เหล่านี้ถูกยกขึ้นเป็นความรักอันสูงส่ง ตามที่นักบวชท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “พระเจ้าทรงเป็นอาจารย์เอก สอนนักบุญคามิลโลให้มีเมตตาจิต”
รักเยี่ยงมารดา อุดมคติประการแรกของท่าน คือ ตั้งกลุ่มฆราวาสพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยด้วยความรักเหมือนแม่ที่รักลูกของตน อุดมคตินี้ได้บรรจุ ไว้ในพระวินัยของคณะเมื่อแรกเริ่มและสมรณสาร ของพระสันตะปาปาได้รับรอง และเห็นชอบโดยยืนยันว่า “นักบุญคามิลโลกับเพื่อนร่วมคณะได้พยาบาลผู้ป่วยด้วยความรัก ไม่แพ้แม่ที่รักลูกคนเดียวของตนที่กำลังป่วย ” เราสังเกตุว่า ตั้งแต่แรกเริ่มอุดมคติอันสูงส่งนี้เกี่ยวโยงกับความเข้าใจในเรื่องความรักเหนือธรรมชาติ และเอาความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนเดียวที่กำลังเจ็บป่วย ที่ยอดเยี่ยมที่สุด มาเปรียบกับความรักเหนือธรรมชาติ เพื่อเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ให้มีความเคารพต่อองค์พระคริสเจ้าเอง ความคิด ความเข้าใจ ความรักเหนือธรรมชาติ ได้ถูกบรรจุไว้ในกฏข้อบังคับแรกๆ ของท่านนักบุญ คามิลโลแล้ว เช่น ท่านกล่าวว่า ทุกคนพึงระวังให้มากที่สุด อย่าใช้วิธีการที่ไม่ดีต่อผู้ป่วย คือ อย่าใช้คำพูดที่แข็งกระด่างและอะไรๆ และอะไรทำนองนี้ แต่พึงปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความอ่อนโยนและเมตตาจิต เพราะพระคริสต์เจ้าทรงตรัสว่า “ท่านทำอะไรเพียงเล็กน้อยต่อผู้ต่ำต้อย ท่านได้ทำต่อเราเอง เพราะเหตุนี้ ให้ทุกคนมีความเคารพต่อผู้ป่วย ผู้ยากไร้ เหมือนกระทำตนต่อพระคริสต์เจ้าเอง”
ผู้ป่วยเป็นเจ้านายและนายของเรา ผู้ป่วยท่านหนึ่งกล่าวแก่ท่านนักบุญว่า”คุณพ่อไปนอนเถิดครับ คุณพ่ออ่อนเพลีย อย่างนี้” นักบุญคามิลโล ตอบว่า “น้องชายเอ๋ย ฉันเป็นบ่าวของเธอ ฉันต้องอยู่ที่นี้เพื่อรับใช้เธอ” ขณะที่ท่านพยายามพยาบาลผู้เจ็บป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลซานโต สปีรีโต มีผู้มาบอกว่า ผู้จัดการอยากพูดกับท่าน ท่านนักบุญตอบว่า
“โปรดบอกท่านว่า ฉันกำลังติดธุระอยู่กับพระเยซูคริสต์เจ้า เมื่อเสร็จธุระแล้วเราจะไปพบท่าน ” ท่านกล่าว “ผู้ป่วยคนนี้เป็นเจ้านายของฉัน ฉันมีความยินดีและกระตือรือร้นที่จะรับใช้เขา” และเมื่อเสร็จแล้ว ท่านกล่าวว่า “ท่านทำจนเกือบจะเป็นการนมัสการกราบไหว้ผู้ป่วย…ถือว่าเป็นองค์พระคริสต์เจ้าเอง”
เพราะเห็นแก่พระเป็นเจ้า เมตตาจิตของท่านนักบุญ เป็นไปแก่แบบไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ท่านแสวงหาพระเยซูคริสตเจ้า ท่านรักและรับใช้ทุกคนด้วยมาตรฐานเดียวกัน เพราะท่านไม่ได้หวังอะไรจากพวกเขา แต่จากพระเยซูคริตเจ้าเท่านั้น ท่านกล่าว “จงรับใช้ บรรเทาใจ และรักษาผู้ป่วย ทุกคนโดยไม่เลือกที่มักรักที่ชัง เพราะพระเจ้าทรงพอพระทัยเช่นนี้ ” ท่านปาวรณาตนเองว่า”ข้าพเจ้าขอสัญญาด้วยการปฎิญาณ แบบเรียบง่ายว่า เท่าที่กระทำได้ ข้าพเจ้าจะไม่หาช่องทางหรือยินยอมด้วยประการใดให้คณะของเราจัดหาผลประโยชน์และดำเนินทางธุรกิจโรงพยาบาล ทั้งนี้ จะได้อุทิศตนเองสิ้นเชิงในการปรนนิบัติผู้ป่วยทั้งกายและวิญญาณ โดยมีใจรักและบริสุทธิ์ใจยิ่งๆขึ้น”
สำนักสอนเมตตารักแห่งใหม่ ท่านให้ความสนใจที่จะดูแลรับใช้ผู้ป่วยทุกมิติอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อผู้ป่วยจะได้รับภาวะสุขภาพแบบสมดุล เพื่อบรรลุถึงคำว่าสุขภาพแบบองค์รวมนักบุญคามิลโลจึงสอนสมาชิกและเจ้าหน้าที่ให้ดูแลผู้ป่วยอย่างดี ในด้านร่างกายและภายนอก เช่น การจัดเตียง การอาบน้ำ การดูแลทำความสะอาด ในด้านจิตใจ โดยการให้กำลังใจผู้ป่วย ในด้านสังคมท่านไม่เคยปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพังคนเดียว และในด้านมิติจิตวิญญาณ ทำให้ผู้ป่วยมีความเชื่อและรักพระเจ้ามากยิ่งขึ้น การกระทำเช่นนี้ เป็นการปฏิรูปครั้งยิ่งใหญ่ในการดูแลพยาบาลผู้ป่วย จนพระศาสนจักได้ยกย่องนักบุญคามิลโลว่า ท่านได้ตั้งสำนักสอนเมตตารักแห่งใหม่ ด้วยคำพูด ท่าที และการกระทำที่เป็นแบบอย่างของท่านต่อผู้ป่วย
คนเข้าตรีทูต ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนเข้าตรีทูตหรือใกล้จะตายเป็นช่วงได้รับความสนใจเป็นพิเศษด้วยความรอบคอบต่อเนื่อง และระมัดระวังที่สุด ดังกฏของคณะ ที่เขียนไว้ว่า เมื่อผู้ป่วยใกล้ตาย ต้องพยายามเอาใจใส่อย่างดีที่สุด ให้มีพระสงฆ์หรือภารดาคนหนึ่งคอยช่วยเหลือ วิญาณของเขา เตือนให้มีความคิดศรัทธา ไม่ทิ้งเขาไปไหนเลย และจะต้องหยุดชะงักกิจการอื่นๆ ทั้งหมด หากว่าจำเป็นต้องออกไป ก็ต้องมีคนมาแทน หรือให้กลับมาทันที และต้องทำดังนี้ทั้งกลางคืนและกลางวัน หากผู้ใกล้ตายอยู่ได้นาน ให้ทุกคนมาอยู่ด้วยคนละชั่วโมงพร้อมด้วยไม้กางเขน น้ำเสก หนังสือ สำหรับมอบวิญณาณต่อพระเจ้า กับตะเกียงที่จุดดวงหนึ่ง การเฝ้าคนใกล้ตายเป็นหน้าที่โดยเฉพาะภารดาพยาบาลวิญณาณ พระวินัยบอกไว้อย่างละเอียดว่าเขาจะต้องทำอย่างไร จึงจะทำหน้าที่นี้อย่างดี ถ้าภารดาพยาบาลวิญณาณสังเกตุว่าอาการของผู้ป่วยหนักขึ้น ก็บอกให้เขาทำการประกาศยืนยันความเชื่อ และเชิญพระสงฆ์มาประกอบพิธีเจิมผู้ป่วย กับคิดที่จะให้เขาได้รับพระการุณบริบูรณ์โดยใช้รูปแขวน และภารดาพยาบาลวิญญาณ จะเป็นคนแรกที่เฝ้าผู้ป่วย 1 ชั่วโมง นักบุญคามิลโลเรียกร้องให้ทุกคน มีความเคารพต่อศพของผู้เสียชีวิตใรโรงพยาบาล ต้องคอยหลายชั่วโมงจึงจะเอาศพไปจากเตียงได้ และในห้องนอนผู้ตาย ต้องวางศพในที่อันสมควรไม่ใช่ทิ้งอยู่กับพื้นอย่างขาดความเคารพอย่างที่เห็นบ่อยๆ เวลานำศพไปยังห้องผู้ตาย มีภารดาสามคนตามพระสงฆ์ไป อีกคนถือกางเขน อีกสองคนถือ เทียนจุด ความมีเมตตาจิตของท่านนักบุญยังตามผู้ป่วยไปถึงโลกหน้า โดยหลังจากสวดภาวนาที่กำหนดไว้ในพิธีกรรมแล้ว เช้าวันรุ่งขึ้น ท่านจะถวายมิสซาอุทิศแก่วิญญาณผู้ล่วงลับเสมอ