ชีวประวัติของนักบุญคามิลโล

1 200px Lellis2 copy 419x600

นักบุญคามิลโล ภาคกลางของประเทศอิตาลี บิดาของท่านชื่อ ร้อยเอก โจวันนี เด แลลลิส มารดาชื่อ นางคามิลลา เด คอมแปลลิส ท่านเป็นเด็กที่มีรูปร่างใหญ่โตแข็งแรงผิดกับเด็กธรรมดาทั่วไป พอโตขึ้น นิสัยก็ เกเร เป็นหัวหน้ากลุ่มนำเพื่อนๆ ก่อความเดือดร้อนต่อชาวบ้าน ชอบเล่นการพนเดือดร้อนต่อชาวบ้าน ชอบเล่นการพนันหนีการเรียน จนเป็นที่หน้าอิดหนาระอาใจของคนทั่วไป แต่แผนของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์แต่ละคนช่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนักเพราะหลังจากที่บิดาของท่านถึงแก่กรรม เมื่อปี ค.ศ.1571คามิลโลได้เข้ารับการระกษาบาดแผลที่ข้อเท้าข้างขวา ซึ่งเกิดจากการเป็นทหารรรับจ้าง ที่โรงพยาบาลซานยาโกโม กรุงโรมแต่ยังรักษาไม่ทันหายก็ถูกไล่ออกจากโรงพยาบาลเพราะความดื้อรั้นติดเล่นการพนันอย่างเหลือขนาด ท่านจึงตัดสินใจเข้ารับการเป็นทหารอีกครั้ง เมื่อสงครามเลิก ท่านก็หันมาเล่นกานพนันอย่างหมดเนื้อหมดตัว ต้องไปขอทานยังชีพ ได้รับความอับอายจนในที่สุด ได้ไปสมัครเป็นคนงานในอารามฤาษีคณะกาปูชิน ที่เมือง มันเฟรดโดเนีย และตัดสินใจเข้าเป็น ฤาษีกาปูชินตามที่ท่านได้บนบานไว้เมื่อตอนประสบพายุกลางทะเล

วันหนึ่งท่านได้รับมอบหมายให้เดินทางจากเมืองมันเฟรโดเนียไปยังปราสาทของนักบุญยอห์นเพื่อบรรจุเหล้าองุ่นที่มีคนบริจาคให้ทางอาราม ท่านได้รับข้อคิดเตือนใจสั้นๆ จากอธิการที่นั้น แม้จะเป็นข้อคิดเตือนใจสั้น แต่ก็ทำให้คามิลโลคิดได้ว่า “พระเจ้าเป็นทุกสิ่ง สิ่งอื่นๆ นั้นไร้ประโยชน์ สิ่งคือสำคัญที่สุดนั้นคือต้องรักษาวิญญาณให้รอด ” และแล้วในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1575 (วันฉลองแม่พระถือศิลชำระ) บนหนทางกลับสู่มันเฟรดโดเนีย ได้กลายเป็นแห่งการกลับใจของท่านคามิลโลได้ลงจากหลังม้าระหว่างทาง คุกเข่าร่ำไห้บนก้อนหินที่ขรุขระให้กับชีวิตที่ใช้มาอย่างไร้ค่า”พระเจ้าข้า.. ทำไมลูกไม่รุ้จักกับพระองค์ให้เร็วกว่านี้ โปรดเถิดพระเจ้าข้า โปรดอภัยบาปหนาให้ผู้นี้ด้วยและโปรดประทานโอกาสให้ลูกได้ทำการใช้โทษบาปอย่างแท้จริงด้วยเถิด” แต่เนื่องจาก บาดแผลที่ขาก็กำเริบมากขึ้น คามิลโลจึงออกจากการเป็นฤาษีกาปูชินแกลับไปที่โรงพยาบาลซานยาโกโม ณที่ท่านได้ยอมเป็นเครื่องมือของพระ เป็นเวลา 4 ปี ที่ท่านต้องทนต่อการรรักษาบาดแผล ซึ่งท่านได้ใช้เวลานี้เองอุทิศตนรับพี่น้องที่เจ็บป่วยอยู่ บัดนี้โรงพยาบาลได้กลายเป็นบ้านโดยมีผู้ป่วยเปรียบเสมือนพี่น้องในครอบครัวเดียวกันของท่าน

ในที่สุดคามิลโลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลโรงพยาบาลซานยาโกโม ท่านพยายามทุกวิธีทางที่จะบรรดาพนักงานปรนนิบัติผู้เจ็บป่วยด้วยความรักและจริงใจ ให้ความอบอุ่นต่อบรรดาผู้ทุกข์ทรมารที่น่าสงสาร แต่เนื่องจากพนักงานเหล่านั้นเปลี่ยนหน้าอยู่เสมอ และการให้บริการของพวกเขาโดยทั่วไปก็หวังผลประโยนช์มากกว่าที่จะออกจริงใจ เป็นผลที่ทำให้บกพร่องต่อหน้าที่บ่อยๆ หากครั้งใดที่ผู้ป่วยได้รับการทอดทิ้งจากศาสนบริกรในวาระสุดท้ายหรือในขณะที่ต้องทรมานท่านถือว่าเป็นทารุณกรรมที่ร้ายกาจอาจนำความเสื่อมเสียให้แก่คริสต์ศาสนาได้ ท่านพยายามแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านี้ไว้โดยอาศัยพระเมตตาของพระเจ้า

ค่ำวันหนึ่ง ในขณะที่ท่านกำลังครุ่นคิดอยู่กับตนเองในโรงพยาบาล รำพึงถึงความลำบาก ท่านก็ฉุนคิดขึ้นมาได้ว่าวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้มีเพียงวิธีการเดียว คือ จะต้องจัดั้งบุรุษใจศรัทธาขึ้นมา ซึ่งมารับใช้ผู้ป่วยโดยไม่หวังผลประโยชน์เหมือนอย่างพระสงฆ์รับจ้าง แต่เพราะความรักของพระเจ้าเพียงอย่างเดียว โดยเอาใจใส่ผู้ป่วยเยี่ยงมารดาที่มีบุตรคนเดียวของนางที่กำลังเจ็บป่วยอยู่ แล้วก็ควรแยกพวกเขาให้เห็นชัดโดยมีมีกางเขนที่ติดเสื้อผ้าเป็นสำคัญ เมื่อได้แนวความคิดซึ่งน่าจะเรียกว่าเป็นการดลใจจากพระเจ้า ท่านก็ตั้งใจดำเนินการตามความคิดนี้และใช้ความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อให้กิจการนี้สำเร็จ จนทำให้ “กลุ่มรับใช้ผู้ป่วย” เล็กๆ นี้เกิดขึ้นได้ เมื่อท่านพบปัญหาต่างๆ ท่านจะได้รับการบรรเทาจากองค์พระเยซูเจ้าบนกางเขนเสมอพระองค์ทรงตรัสกับท่านว่า “อย่าไปกลัวเลยเจ้าผู้ขลาด เดินหน้าต่อไป เราจะช่วยเจ้า และจะอยู่กับเจ้า นี่เป็นกิจกรรมของเรา มิใช่ของเจ้า ”

ในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ.1584 ท่านได้รับศีลบรรพชา เป็นพระสงฆ์ และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ท่านมอบเครื่องแบบเป็นชุดหล่อที่มีกางเขนแดงติดอยู่ บนหน้าอก แก่เพื่อนกลุ่มแรกที่อุทิศรับใช้ผู้ป่วยทั้งครบ ถือว่าท่านได้เริ่ม”สำนักใหม่แห่งความรัก” นี้ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1568 และพระสันตปาปาเกรโกรีที่ 14ได้รับรองให้กลุ่มผู้ใช้ผู้ป่วยเป็นคณะนักบวช อย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ.1591 โดยให้ชื่อว่า “คณะนักพรตบรรพชิตผู้รับใช้ผู้ป่วย(the Order Clerics Servants the Sick ) ”

ในเวลาไม่นาน คณะฯ ได้แพร่หลายไป 16 เมืองในอิตาลี ที่ใดก็ตามที่มีความเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม โรคติดต่อ ภัยจากสงคราม คามิลโลและเพื่อนนักบวชจะเร่งรีบไปช่วยเหลือทันที ชีวิตของท่านเรียบง่าย แต่ท้าทายดังวาทะของท่านที่ว่า “ผู้ดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยด้วยลมหายใจแห่งความรักและความขยัน” ท่านถึงแก่มรณกรรมในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1614 ขณะที่มีอายุได้ 64 ปี และได้อุทิศชีวิตรับใช้ผู้ป่วยมาเป็นเวลากว่า 40 ปี พระสันตปาปาเลโอที่ 13 ได้แต่งตั้งท่านให้เป็นองค์นักบุญองค์อุปถัมภ์ของโรงพยาบาลและผู้ป่วยทั้งหลายในปี 1886

ตราบจนวันนี้เป็นระยะเวลากว่า 400 ปี หลังจากท่านนักบุญ คามิลโลได้ตั้งคณะผู้รับใช้ผู้ป่วยมาขึ้น เราสามารถพบเห็นบรรดานักบวชชองคณะคามิลเลียนได้กว่า 30 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ท่านเหล่านี้ทำงานในโรงพยาบาลบ้านพักผู้สูงอายุ ศูนย์สงเคราะผู้ยากไร้ ศูนย์ช่วยเหลือโรคเอดส์และเอชไอวี ศูนย์อภิบาลผู้ป่วย และสภาบันส่งสริมสุขภาพอนามัยต่างๆ โดยมีจิตตารมณ์ในการ “ดูแลรับใช้ผู้ป่วย เยี่ยงมารดามีต่อบุตรคนเดียวที่กำลังเจ็บป่วย”

พิมพ์ อีเมล